ลักษณะของเด็กยุคใหม่มี 8 ประการดังนี้
1. มีอิสระในการทำหรือคิดในสิ่งที่ตนพอใจ
2. ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตนพอใจ
3. ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
4. เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น
5. ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงานและการเรียนรู้
6. ความร่วมมือและการสร้างปฎิสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม
7. ต้องการความเร็วในการหสข้อมูล คำตอบ และการสื่อสาร
8. สร้างนวัตกรรมต่อทุกอย่างในชีวิต
ปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ครูควรนำไปใช้ได้แก่
1. Authentic Learning
ครูควรให้นักเรียนเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมของจริงเพราะ ในห้องเรียนนักเรียนจะเรียนรู้ได้เพียงแค่หลักการเท่านั้น และยิ่งเด็กในยุคนี้แล้วครูต้องให้นักเรียนเรียนจากของจริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง(Authentic Leaning)
2. Mental Model Building
ครูนำเอาประสบการณ์ที่สั่งสมมาทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการทัศน์(ความเชื่อ ค่านิยม) แล้วนำเอามาโต้แย้งให้นักเรียนละจากค่านิยมเดิมมาสนใจค่านิยมใหม่
3. Internal Motivation
ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนอยากเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ใช่ไปบังคับนักเรียนให้เรียน หากครูทำได้เด็กก็จะมีอิทธิบาท 4 ตามมาทั้งหมด
4. Multiple Intelligence
นักเรียนทุกคนมีความสามารถที่ตนเองถนัดติดตัวมาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว ดังนั้นครูร้องจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนแบบเฉพาะตัว
5. Social Learning
ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้นัดเรียนเกิดการอยากเรียน โดยครูต้องจัดให้นักเรียนได้พบกับผู้คนเยอะๆ หรือการจัดกลุ่มเรียน การเรียนนอกสถานที่ เป็นต้น
ความเข้าใจบทบาทของการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ครูควรสร้างบทเรียนในการสอนนักเรียนให้รชนักเรียนเกิดความมสนุกสนานและมีความสุขในการทำงานเพื่อเป้าหมายในการประสบความสำเร็จของชีวิตนักเรียนในยุคความรู้ ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่ในยุคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทยในศตวรรษที่ 21
ครูต้องยึดหลัก "สอนน้อย เรียนมาก" คือ ครูอาจจะไม่ต้องสอนเลย หรือสอนน้อยลง แล้วให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ได้ทำกิจกรรม ลงมือปฏิบัติเอง เพื่อให้เขาได้เกิดการเรียนรู้ด้วยสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Leaning)
สาระวิชาหลักสำคัญได้แก่
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
ศาสตร์ใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อม
เรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ ๒๑ จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะของการเรียนรู้ด้วย และในขณะเดียวกันก็ต้องมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่เหมือนการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ 20 หรือ 19
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล
ไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ
(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู้ 3R x 7Cครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง
ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น“คุณอำนวย” (facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based Learning) ของศิษย์ครูจะต้องปรับตัวมากซึ่งเป็นเรื่องยาก จึงต้องมีตัวช่วย คือ
Professional Learning Communities (PLC) ซึ่งก็คือ การรวมตัวกันของครูประจำการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำหน้าที่ครูนั่นเอง
พัฒนาสมองห้าด้าน
ครูต้องทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ และช่วยเป็น “คุณอำนวย” หรือเป็นโค้ชให้ ครูที่เก่งและเอาใจใส่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ลึกและเชื่อมโยง นี่คือ มิติทางปัญญา การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง 5 ด้านได้แก่
1.สมองด้านวิชาและวินัย
เป้าหมายคือ การเรียนรู้แก่นวิชา ไม่ใช่จดจำสาระแบบผิวเผิน แต่รู้แก่นวิชาจนสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นได้ และสนุกกับมันจนหมั่นติดตามความก้าวหน้าของวิชาไม่หยุดยั้ง
2. สมองด้านสังเคราะห์
ครูต้องจัดให้ศิษย์ได้เรียนเพื่อพัฒนาสมองด้านสังเคราะห์ ซึ่งต้องเรียน จากการฝึกเป็นสำคัญ และครูต้องเสาะหาทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์มาใช้ในขั้นตอนของการเรียนรู้จากการทบทวนไตร่ตรอง (reflection) หรือ AARหลังการทำกิจกรรมเพื่อฝึกหัด เพราะผมเชื่อว่า การฝึกสมองด้านสังเคราะห์ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ ปฏิบัตินำ ทฤษฎีตาม
3. สมองด้านสร้างสรรค์
สมองที่สร้างสรรค์คือ สมองที่ไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพซึ่งถือว่าดีที่สุดที่มีอยู่นั้น ถือเป็นที่สุดแล้ว เป็นสมองที่เชื่อว่ายังมีวิธีการหรือสภาพที่ดีกว่าอย่างมากมายซ่อนอยู่ หรือรอปรากฏตัวอยู่ แต่สภาพหรือวิธีการเช่นนั้นจะเกิดได้ ต้องละจากกรอบวิธีคิดหรือวิธีดำเนินการแบบเดิม ๆศัตรูสำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ คือ การเรียนแบบท่องจำเปรียบเทียบสมอง ๓ แบบข้างต้นได้ว่า สมองด้านวิชาและวินัยเน้น
ความลึก (depth) สมองด้านการสังเคราะห์เน้นความกว้าง (breath) และสมองด้านสร้างสรรค์เน้นการขยายหรือฝืน (stretch)
4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ
มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ จึงต้องเป็นคนที่สามารถคุ้นเคยและให้เกียรติคนที่มีความแตกต่างจากที่ตนเคยพบปะได้ที่สำคัญ คือ ต้องไม่มีอคติ ทั้งด้านลบและด้านบวกต่อคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ ครูเพื่อศิษย์จะฝึกฝนสมองด้านนี้ของศิษย์อย่างไร หากศิษย์ของท่านเป็นเด็กมุสลิม เป็นเด็กในเมือง เป็นเด็กชนเผ่า นี่คือ ความท้าทาย หากโรงเรียนของท่านมีเด็กนักเรียนจากหลากหลายวัฒนธรรม การจัดการเรียนรู้น่าจะง่ายขึ้น แต่ในกรณีที่นักเรียนในโรงเรียนที่ท่านสอนเป็นเด็กจากวัฒนธรรมและชนชั้นเดียวกัน ครูจะจัดให้เด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองด้านนี้อย่างไรนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
5. สมองด้านจริยธรรม
สมองด้านจริยธรรมได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เรื่อยมาจนโต และผมเชื่อว่าเรียนรู้พัฒนาได้จนสูงวัยและตลอดอายุขัย ข้อสังเกตส่วนตัวของผมก็คือ แนวความคิดเรื่อง ๕ ฉลาดนี้ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการพัฒนาทฤษฎี ครูเพื่อศิษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะพัฒนาทฤษฎีขึ้นใช้เอง ทฤษฎีไม่ใช่สิ่งตายตัว หรือมีสิทธิ์สร้างเฉพาะนักวิชาการยิ่งใหญ่เท่านั้น คนที่มุ่งมั่นทำงานด้านใดด้านหนึ่งมีสิทธิ์พัฒนาทฤษฎีขึ้นใช้เป็นแนวทางในการทำงานสร้างสรรค์ของตนดังนั้น ครูเพื่อศิษย์ทุกคนควรสร้างทฤษฎีในการทำงานของตน แล้วลงมือปฏิบัติและหาทางเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีของตนถูกต้องหรือมีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร การทำงานแบบนี้คือการทำงานบนฐานการวิจัยนั่นเอง ผลงานวิจัยบางส่วนจะสามารถนำมาเป็นผลงานเพื่อการเลื่อนตำแหน่งได้ดีกว่าการทำ “ผลงาน” ปลอมๆ ที่ทำกันในปัจจุบันอย่างมากมาย
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ครูเพื่อศิษย์จึงต้องเอาใจใส่ พัฒนาขีดความสามารถของตนเองในด้านนี้ ให้สามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองในด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ตลอดชีวิต วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะนี้ ใช้หลักการว่า ต้องมีการเรียนรู้แบบที่เด็กร่วมกันสร้างความรู้เองคือ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ และเรียนรู้เป็นทีมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมนี้อยู่ที่ยอดของ Knowledge-and-Skills Rainbow ซึ่งเป็นหัวใจของทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้ (learning how to learn หรือ learningskills) และเรียนรู้ทักษะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น (นวัตกรรม)ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา
(problem solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking)
2. การสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration)
ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communicating)
3. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation)
ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำคัญสำหรับการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ประเด็นสำคัญสำหรับครูเพื่อศิษย์คือ ต้องแสวงหาวิธีการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์ (ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม) พัฒนาทักษะนี้ รวมทั้งครูก็ต้องฝึกฝนทักษะนี้ของตนเองด้วย
การเรียนแบบ PBL ที่ครูเก่งด้านการชวนศิษย์ทบทวนไตร่ตรอง(reflection หรือ AAR) บทเรียน การตั้งคำถามของครูที่ให้เด็กคิดหาคำตอบที่มีได้หลายคำตอบ จะทำให้ศิษย์เกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy) จะต้องมีทักษะที่ต้องการเหล่านี้
- ทักษะในการเข้าถึง (access) อย่างรวดเร็ว และรู้แหล่ง
- ทักษะในการประเมินความน่าเชื่อถือ
- ทักษะในการใช้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy Skills) เป็นทักษะสองทางคือ ด้านรับสารจากสื่อ และด้านสื่อสารออกไปยังผู้อื่นหรือสาธารณะหรือโลกในวงกว้าง เนื่องจากยุคนี้เป็นยุค media 2.0 -3.0 คนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมีความสามารถใช้เครื่องมือสร้างสื่อ และสื่อสารออกไปได้หลากหลายทาง เช่น วิดีโอ (video) ออดิโอ (audio),พอดคาส์ท (podcast) เว็บไซต์ (website) เป็นต้น
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จุดที่สำคัญคือ ทั้งสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร เปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างรวดเร็ว ครูตามเทคโนโลยีให้ทันได้ยาก
และยากที่ครูจะตามเทคโนโลยีให้ทัน จึงต้องมีกลไกช่วยเหลือครูอย่างเป็น
ระบบ และครูก็ต้องหมั่นเรียนรู้
ทักษะด้านความเป็นนานาชาติ
ให้แก่ศิษย์ ซึ่งจะช่วยสร้างความเป็นนานาชาติให้แก่โรงเรียน
ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกทักษะด้านความเป็นนานาชาติ (internationalization)
หรือมหาวิทยาลัยด้วย ปัจจุบันเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารนั้นจะช่วยให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้แก่ศิษย์ ให้มีทักษะ
ต้องมีนักเรียนจากต่างชาติต่างภาษามาเรียนที่โรงเรียน และยังเอาชนะ
ความเป็นนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครูชาวต่างประเทศ ไม่จำเป็น
เพราะจริง ๆ แล้ว สไคป์ (Skype)
ข้อจำกัดที่เด็กไม่มีเงินสำหรับใช้จ่ายเป็นค่าเดินทางไปต่างประเทศได้ด้วย
ช่วยให้คุยหารือกันแบบพบหน้าได้อยู่แล้ว รวมทั้งจัดแบบประชุมผ่านวิดีทัศน์ทางไกล (video teleconference) ก็ได้
ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตนั้นจะต้องเรียนตั้งแต่ชั้นประถม (หรืออนุบาล) ไปจนถึง ม. 6 แลมหาวิทยาลัย โดยเรียนตามพัฒนาการของสมอง ครูจะต้องเรียนรู้วิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้แก่ศิษย์แต่ละกลุ่มอายุและตามพัฒนาการของสมองเด็กแต่ละคน เพราะทักษะกลุ่มนี้สอนไม่ได้ เด็กต้องเรียนเอง และครูยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นในการคิดค้นหาวิธีออกแบบการเรียนรู้ วิธีกระตุ้นและอำนวยความสะดวกในการ
เรียนรู้ของทีมงานและศิษย์ รวมถึงวิธีชวนกันถอดบทเรียนหลังงานสำเร็จเพื่อช่วยให้การเรียนรู้ลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น การทำงานของครูเพื่อศิษย์ในสภาพนี้จะยิ่งน่าสนุกและท้าทายยิ่งขึ้น
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
ความยืดหยุ่นและการปรับตัวเป็นทักษะเพื่อการเรียนรู้ การทำงานและการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 เป็นความยืดหยุ่นและปรับตัวเพื่อบรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่ยืดหยุ่นและปรับตัวแบบไร้หลักการและเลื่อนลอย
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง และไม่คาดฝันอย่างที่เป็นอยู่ในโลกปัจจุบัน และรุนแรงขึ้นในอนาคต ทำให้การวางแผนการทำงานแบบตายตัวใช้ไม่ได้ผล มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีความสามารถสูงในการยืดหยุ่นและปรับตัวเพื่อบรรลุเป้าหมายและคุณค่า
ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
หัวใจของทักษะนี้คือ สามารถทำงานและดำรงชีวิตอยู่กับสภาพแวดล้อมและผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้อย่างไม่รู้สึกเครียดหรือแปลกแยก และทำให้งานสำเร็จได้ เป็นเรื่องของการเรียนรู้และยกระดับความฉลาดด้านสังคม (social intelligence) และความฉลาดด้านอารมณ์(emotional intelligence) ของศิษย์
การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้
การเรียนรู้จากการทำโครงการ (PBL/ Project Base Learning ) เป็นวิธีเรียนทักษะเหล่านี้ โดยใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างมีผลิตภาพ
(productivity) มีการเก็บข้อมูลเพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อการรับรู้ผลงานที่ทำได้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะที่ต้องการคือ ทักษะในการกำหนดเป้าและบรรลุเป้าหมายนั้นการจัดลำดับความสำคัญของงานและการใช้เวลา
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
ภาวะผู้นำที่ต้องการในศตวรรษที่ 21 คือ ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบแบบกระจายบทบาท (distributed leadership and responsibility)และความรับผิดชอบมี 3 ระดับ คือ
1. รับผิดชอบต่อตนเอง
2. รับผิดชอบการทำงานประสานสอดคล้องกันในทีม
3. ความร่วมมือกันในทีมเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน
แนวคิดการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
สมดุลใหม่ในการทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์
ครูเพื่อศิษย์ต้องมีสติระลึกรู้อยู่ตลอดเวลาว่า การเรียนการสอนต้องไม่ใช่เรื่องความรู้ของตน แต่เป็นเรื่องการคิดและทักษะของศิษย์ จุดเน้นต้องเปลี่ยนจากการสอนของครูไปสู่การเรียนรู้ของศิษย์นั่นคือ มองเชิงเป้าหมายหรือเชิงกระบวนทัศน์ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ครูต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ในวิชาชีพการเป็นครู ซึ่งการเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการทำงาน ทักษะหลายอย่างเรียนรู้ได้น้อยระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัยจะเป็นเครื่องมือเปลี่ยนทั้งทักษะของครูเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้ของศิษย์ และเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการศึกษาภาพใหญ่ในระบบการศึกษาไทยด้วยได้อย่างไร
สอนน้อย เรียนมาก
เป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าครูทำงานน้อยลงแต่ความจริงกลับต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต้องคิดหาวิธีให้นักเรียนเรียนได้มากขึ้น คือ ครูสอนน้อยลง แต่หันไปทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ชักชวนนักเรียนทบทวนว่าในแต่ละกิจกรรมของการเรียนรู้ นักเรียนได้เรียนรู้อะไร และอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีก
การเรียนรู้และการสอนในศตวรรษที่ ๒๑
คำถาม (โจทย์ -Question) และกระบวนการไปสู่คำตอบกับปัญหา (Problem) และการสร้างแนวทางที่หลากหลายไปสู่การแก้ปัญหานั้นเพราะเครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ และการสอนในศตวรรษที่ 21 คือ คำถามกับปัญหา การเรียนรู้แบบใช้การตั้งคำถามเป็นหลักเรียกว่า Inquiry-Based Learning หรือ IBL
ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกเป็นนักตั้งคำถาม และนักตั้งปัญหาเพื่อสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ และที่สำคัญต้องไม่ตั้งเป้าว่า ต้องได้คำตอบที่ถูก ใครตอบผิดถือว่าใช้ไม่ได้ ครูที่ประพฤติตัวบูชาคำตอบที่ถูกเป็นพระเจ้า ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ แต่เป็นครูเพื่อคำตอบที่ถูกต้อง
การเรียนรู้อย่างมีพลัง
เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ จักรยานแห่งการเรียนรู้ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ Define คือ ขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมงาน ร่วมทั้งครูด้วยมีความชัดเจนร่วมกันว่า คำถาม ปัญหา ประเด็น ความท้าทายของโครงการคืออะไร และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อะไร, Planคือ การวางแผนการทำงานในโครงการ ครูก็ต้องวางแผนกำหนดทางหนีทีไล่ในการทำหน้าที่โค้ช รวมทั้งเตรียมเครื่องอำนวยความ
สะดวกในการทำโครงการของนักเรียน และที่สำคัญ เตรียมคำถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสำคัญบางประเด็นที่นักเรียนมองข้าม, Doคือ การลงมือทำ มักจะพบปัญหาที่ไม่คาดคิดเสมอ นักเรียนจึงจะได้เรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา และ Reviewนักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ทบทวนว่า โครงการได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่ แต่จะต้องเน้นทบทวนว่างานหรือกิจกรรม หรือพฤติกรรมแต่ละขั้นตอนได้ให้บทเรียนอะไรบ้าง เอาทั้งขั้นตอนที่เป็นความสำเร็จและความล้มเหลวมาทำความเข้าใจ และกำหนดวิธีทำงานใหม่ที่ถูกต้องเหมาะสมรวมทั้งเอาเหตุการณ์ระทึกใจ หรือเหตุการณ์ที่ภาคภูมิใจ ประทับใจ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ขั้นตอนนี้เป็นการเรียนรู้แบบทบทวนไตร่ตรอง(reflection) หรือในภาษา KM เรียกว่า AAR (After Action Review) วงล้อมี ๒ วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่เป็นของครู หลักสำคัญคือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
การที่จะเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑นั้นมีผลการวิจัยผลสัมฤทธิ์ของ PBL ต่อการเรียนรู้ของเด็ก สรุปได้ดังนี้
1. เด็กนักเรียนเรียนได้ลึกขึ้นเมื่อเขามีโอกาสประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากห้องเรียนเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตจริง
2. ตัวแปรที่ให้ผลต่อการเรียนรู้สูงสุดคือ การได้ลงมือปฏิบัติ และได้ร่วมทีมเรียนรู้ เป็นตัวแปรที่มีผลมากกว่าพื้นฐานของนักเรียน และสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ในอดีต
3. นักเรียนจะเรียนได้ดีหากได้รับการสอนเรื่อง how to learn และ what to learn
1.การเรียนรู้กลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน (Collaborative Small-Group Learning)
2. การเรียนรู้แบบใช้โครงการ (Project Learning Methods)
3. การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานคิด (Problem-Based Learning)
ครูเพื่อศิษย์ชี้ทางแห่งหายนะที่รออยู่เบื้องหน้า
ทักษะครูเพื่อศิษย์ที่สำคัญยิ่ง ผมเข้าใจว่าการสอนตรง ๆ จะได้ผลน้อย วิธีการหนึ่งที่ครูเพื่อศิษย์น่าจะฝึกและทดลองใช้คือ ใช้เรื่องเล่าเล่าเรื่องของเด็กที่ชีวิตค่อย ๆ ตกเข้าไปในบ่วงมาร และเวลานี้กำลังทน
ทุกข์อยู่ ในอีกโอกาสหนึ่งก็เล่าเรื่องของเด็กที่ชีวิตล่อแหลม อยู่ที่ปากขอบของหุบเหวแห่งมารชีวิต แต่หลีกเร้นเอาตัวรอดไม่ตกลงไปได้ และชวนนักเรียนตีความว่า ทักษะในการประคองชีวิตตนเองไม่ให้ตกไปสู่ลู่ชีวิตที่ยากลำบากนั้นมีอะไรบ้างอีกวิธีหนึ่งคือ ให้นักเรียนจัดทีมทำโครงการ “หลบเลี่ยงหลุมดำแห่งชีวิตของนางสาว ก” หรือโครงการสำหรับชีวิตของนาย ข นาย ค นาย ง ...ตามแต่จะมีตัวคนจริงหรือคนสมมติ พร้อมสถานการณ์ชีวิตและสภาพแวดล้อมจัดทำเป็นโครงการเรียนรู้ทักษะชีวิตด้วยการเรียนรู้แบบ PBL มีการประกวดผลงานด้วย
จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
สมดุลระหว่างความง่ายกับความยาก
มนุษย์จะคิด หากโจทย์นั้นง่ายพอสมควรที่จะคิดได้สำเร็จ ความสำเร็จคือ รางวัลทางใจ เป็นแรงจูงใจที่จะคิดโจทย์ต่อไป ครูจะต้องใช้จิตวิทยาข้อนี้กับศิษย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้ศิษย์เกิดความสนุกในการเรียน ถ้าโจทย์ยากเกินไป ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์จะกระตุ้นให้เขาเลิกคิดหนีการคิด หลีกหนีการเรียน แต่ถ้าโจทย์ง่ายเกินไป ก็ไม่ท้าทาย น่าเบื่อหรือไม่เกิดการเรียนรู้ความพอดีอยู่ที่ไหน นี่คือ ข้อเรียนรู้ที่ครูเพื่อศิษย์จะต้องฝึกฝนตนเอง
ครูเพื่อศิษย์คือ นักออกแบบโจทย์การเรียนรู้ ให้ศิษย์ฝึกคิดจากง่ายไปหายาก ให้ศิษย์ได้มีความสุข ความพึงพอใจ จากการทำโจทย์สำเร็จจากง่ายไปหายาก ทำบ่อย ๆ จนเป็นนิสัยของการเป็นคนช่างคิด หรือคิดเป็น คิดอย่างมีวิจารณญาณ แล้วค่อย ๆ พัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
ความคิดกับความรู้เกื้อกูลกัน
ครูเพื่อศิษย์จึงต้องฝึกนักเรียน ให้รู้จักวิธีจำ ฝึกทักษะการจำเพื่อให้มีทั้งความจำใช้งาน (working memory) และความจำระยะยาว(longterm memory) ที่ดี เคล็ดลับคือ เด็กที่มีความจำทั้งสองแบบนี้ดี จะไม่เบื่อเรียน ไม่เบื่อคิด การเรียนและการคิดจะเป็นของสนุกไม่ใช่น่าเบื่อหน่าย หน้าที่สำคัญที่สุดของครูคือ การสร้างแรงบันดาลใจใคร่เรียนรู้ หรือจุดไฟของความใคร่เรียนรู้ขึ้นในใจหรือในสมองเด็ก แต่การจุดไฟใคร่เรียนรู้ในสมองเด็กไม่เหมือนการจุดไฟในเตาที่ทำครั้งเดียวแล้วไฟติด การจุดไฟในสมองเด็กต้องทำซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัย จนกลายเป็นบุคลิกประจำตัว และจะเป็นเช่นนั้นได้ต้องเกิดวงจรรางวัลขึ้นในสมองของเด็กซ้ำ ๆ ต้องอ่านหนังสือครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบของครูเรฟนะครับ จะเห็นว่าการจุดไฟในสมองเด็กนั้นไม่ยากหากรู้วิธี และที่สำคัญคือ จะทำให้ชีวิตครูเป็นชีวิตที่สนุกสนาน มีชีวิตชีวา
เพราะคิดจึงจำ
ครูที่เก่งคือ ครูที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง และครูที่เก่งมีคุณลักษณะสำคัญ ๒ ด้าน คือ
1. รักเอาใจใส่เด็ก เด็กสัมผัสจิตใจเช่นนั้นได้และสบายใจที่จะเข้าหาซึ่งเป็นมิติด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์
2. สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายสำหรับศิษย์ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดความจำระยะยาว
ดังนั้นเมื่อครูสอนให้นักเรียนเกิดความสนใจแล้ว นักเรียนจะคิดได้และจำไปเอง
ความเข้าใจคือความจำจำแลงสู่การฝึกตนฝนปัญญา
ความเข้าใจนั้นเกิดจากการเอาความรู้เดิมมาใช้แก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ (knowledge transfer) แล้วเกิดความรู้ใหม่หรือขยายความรู้เดิม ระดับความเข้าใจซึ่งจะเป็นระดับตื้นหากโครงสร้าง
ความคิดเป็นแบบผิวเผิน (surface structure) แต่ระดับความเข้าใจจะเป็นระดับลึก หากโครงสร้างความคิดเป็นแบบลึก (deep structure) คือ คิดในระดับความหมาย (meaning)เป็นหน้าที่ของครูเพื่อศิษย์ที่จะฝึกศิษย์ เตรียมความพร้อมให้เข้าใจระดับลึก โดยทำแบบฝึกหัดจับกลุ่มแยกประเภท (categorize) สิ่งของคู่เหมือน คู่ตรงกันข้าม เปรียบเทียบ แบบฝึกหัดที่สนุกคือ เล่นเกม
ฝึกฝนจนเหมือนตัวจริง
คนหัดใหม่มีวิธีทำให้ตนเองคิดแบบผู้เชี่ยวชาญด้วย ๔ กลไก ได้แก่
1. เพิ่มต้นทุนความรู้ (background knowledge หรือ longterm
memory) และจัดระบบไว้อย่างดี ให้พร้อมใช้ (เรียกว่า functional
knowledge) ดึงเอาไปใช้ตรงตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
2. ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถใช้พื้นที่ความจำใช้งานที่มีจำกัด
ในการคิดได้มากและซับซ้อนขึ้น
3. ฝึกคิดแบบลึก (deep structure) หรือแบบ functional หรือคิด
ตีความหาความหมาย (meaning) ไม่ใช่คิดแบบตื้น (surface structure)
ตามที่ตาเห็น
4. คุยกับตัวเองว่า กำลังขบปัญหาอะไรอยู่ ในลักษณะของการมอง
แบบนามธรรม หรือแบบสรุปรวบยอด (generalization) และตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการแก้ปัญหานั้นไปในตัว
จะเห็นว่า ข้อ 2 - 4 เป็นเรื่องของการฝึกฝน และมีหลักฐานมากมายที่แสดงว่า คนที่ประสบความสำเร็จเรื่องใดเรื่องหนึ่งในระดับอัจฉริยะนั้นปัจจัยสำคัญที่สุดอยู่ที่การฝึกฝนอย่างเอาจริงเอาจัง ที่เรียกว่า เคี่ยวกรำเป็นเวลานาน อย่างไม่เบื่อไม่ย่อท้อ ดังที่ระบุไว้ในหนังสือ Outliers คนบางคนอาจโชคดีที่ฝึกฝนตนเองในระดับดังกล่าวได้ แต่คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียน ต้องการโค้ชเก่ง ๆ ที่จะทำให้การฝึกฝนเคี่ยวกรำเป็นเรื่องไม่น่าเบื่อ ไม่ท้อถอยนี่คือ คุณูปการของครูเพื่อศิษย์ เป็นโค้ชของศิษย์ ให้ได้ฝึกฝนตนเองอย่างสนุกสนาน มีความสุข และอดทน
สอนให้เหมาะต่อความแตกต่างของศิษย์
ครูเพื่อศิษย์ไทยต้องเอาความเป็นจริงเกี่ยวกับความแตกต่างของศิษย์ในทุกด้าน มาเป็นข้อมูลประกอบในการออกแบบการเรียนรู้ และการพัฒนาความเป็น “ครูเพื่อศิษย์” ของตนนักเรียนมีความแตกต่าง 3 แนว ได้แก่
1. ความสามารถทั่วไปในการเรียนรู้ อาจเรียกว่าเด็กฉลาด เด็กหัวไว
เด็กหัวช้า
2. รูปแบบการเรียน ตามทฤษฎีมีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาทแบบเน้นโสตประสาท และแบบเน้นการเคลื่อนไหว (Visual, Auditory, andKinesthetic Learners Theory)
3. ความฉลาด 8 ด้าน ตามทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
เรื่องการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับความแตกต่างของศิษย์นี้ สามารถทำวิจัยจากปฏิบัติการจริงได้อีกมาก เป็นโอกาสที่ครูเพื่อศิษย์จะฝึกฝนทักษะด้านการวิจัยปฏิบัติการของตน ทั้งเพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงาน และเพื่อเป็นผลงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง
ช่วยศิษย์ที่เรียนอ่อน
คำตอบแบบฟันธงคือ ช่วยเอาใจใส่ ให้กำลังใจ ให้ศิษย์ที่เรียนอ่อนพากเพียรฝึกฝนตนเอง และครูและวงการศึกษาทั้งมวล (รวมทั้งพ่อแม่)ต้องสร้างกระแสหรือกระบวนทัศน์ใหม่ในสังคมคือ กระบวนทัศน์หรือความเชื่อว่าสติปัญญาสร้างได้ด้วยการฝึกฝนอย่างมานะอดทน และการมี “โค้ช”ที่ดี และพ่อแม่และครูเพื่อศิษย์ก็คือ โค้ชที่ดี
เคล็ดลับสำหรับครูเพื่อศิษย์คือ การให้คำชม จงอย่าชมความสามารถ ให้ชมความมานะพยายาม เพื่อทำให้สิ่งที่มีคุณค่าคือ ความมานะพยายาม คือความสำเร็จที่ได้มาจากความบากบั่นเอาชนะอุปสรรค
จงอย่าชื่นชมความสำเร็จที่ได้มาโดยง่าย
ฝึกฝนตนเอง
ครูที่ดี ต้องเรียนรู้เคี่ยวกรำฝึกฝนตนเองยิ่งกว่าศิษย์ จึงจะเป็นครูที่ดีได้ ต้องไม่ใช่แค่เอาใจใส่และรักศิษย์ แต่ต้องศึกษาฝึกฝนหาวิธีการเป็น“โค้ช” หรือ “คุณอำนวย” (facilitator) ของการเรียนรู้ของศิษย์ที่ดีหรือเหมาะสมยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยต้องตระหนักว่า ในโลกยุคใหม่ เด็กและสังคมเปลี่ยน ทฤษฎีการเรียนรู้เก่า ๆ บางทฤษฎีล้าหลังหรือใช้ไม่ได้ผล ครูจึงต้องเรียนรู้ ทดลองใช้ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่มีการวิจัยพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความก้าวหน้าด้านประสาทวิทยา (neuroscience) และจิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology) นั่นคือ ครูต้องเป็น “นักเรียน” ยิ่งกว่าตัวนักเรียนที่ครูสอน
เปลี่ยนมุมความเชื่อเดิมเรื่องการเรียนรู้
วิธีทำหน้าที่ครูอย่างได้ผล และมีคุณค่า โดยมองจากมุมของจิตวิทยาการเรียนรู้ (Cognitive Psychology) บางประเด็นเป็นการเปลี่ยนมุมมองจากเดิมที่เชื่อถือกันมาผิด ๆ มีหลักใหญ่ ๆ 9 ประการดังต่อไปนี้
1. มนุษย์มีธรรมชาติใฝ่รู้ แต่ธรรมชาติของมนุษย์มีข้อจำกัด
2. ความรู้เชิงข้อเท็จจริง มาก่อนทักษะ
3. ความจำเป็นผลจากการคิด
4. เราเข้าใจเรื่องหนึ่งๆตามบริบทของเรื่องที่เรารู้แล้ว
5. ต้องฝึกฝนจึงจะเกิดความคล่องแคล่ว
6. การเรียนรู้แตกต่างกันในช่วงแรก ๆกับช่วงหลังของการฝึกฝน
7. มองจากมุมของการเรียนรู้ นักเรียนมีความเหมือนกันมากกว่าต่างกัน
8. ความฉลาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการทำงานฝึกฝนอย่างหนัก
9. การสอนก็เหมือนกับทักษะที่ซับซ้อนทางปัญญาอื่นๆต้องการการฝึกฝนเพื่อปรับปรุง
บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้
กำเนิดและอานิสงส์ของ PLC
“ครูเพื่อศิษย์” ทำหน้าที่ครูด้วยความบันเทิงใจ รักและสนุกกับการทำหน้าที่ครู ให้คุณค่ากับการทำหน้าที่ครู แม้จะเหนื่อยและหนัก รวมทั้งหลายครั้งหนักใจแต่ก็ไม่ท้อถอยเชื้อไฟที่ช่วยให้แรงบันดาลใจไม่มอดคือ คุณค่าของความเป็นครู
PLC เป็นเครื่องมือนำเกียรติภูมิของครูกลับคืนมาไม่ต้องรอให้ใครหยิบยื่นให้แต่ทำโดยลงมือทำ...ทำแล้วทบทวนไตร่ตรองการเรียนรู้จากผลที่เกิด ทบทวนร่วมกับเพื่อนครูจนเกิดเป็น “ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์”ซึ่งก็คือ PLC นั่นเอง
PLC คืออะไร
PLC คือ กระบวนการต่อเนื่องที่ครูและนักการศึกษาทำงานร่วมกันในวงจรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน โดยมีความเชื่อว่า หัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น อยู่ที่การเรียนรู้ที่ฝังอยู่ในการทำงานของครูและนักการศึกษา
PLC เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนชีวิตครู
สรุปว่า PLC เป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนชีวิตครู เปลี่ยนจาก“ผู้สอน” (teacher) เป็น “นักเรียน” (learner) เปลี่ยนจากโดดเดี่ยวเป็นมีเพื่อน มีกลุ่ม รวมตัวกันเป็นชุมชน ทำงานแบบปรึกษาหารือและช่วยเหลือกัน
โดยมีเป้าหมายที่เด็ดเดี่ยวชัดเจนคือ ผลการเรียนทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) ของศิษย์ทุกคน มีการจัดการเรียนเสริมแก่ศิษย์ที่เรียนไม่ทันเพื่อให้กลับมาเรียนทัน
PLC จึงเป็นเครื่องมือเพื่อการบันเทิงชีวิตครู ตามชื่อของภาคนี้ชีวิตของครูเพื่อศิษย์เป็นชีวิตที่บันเทิงรื่นเริงใจ และให้ความสุขทางใจอย่างหางานอื่นเปรียบได้ยาก แม้ในบางช่วงจะมีคลื่นลมบ้างก็ตาม
สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครู (คศ.) ที่ใช้ในปัจจุบัน คือให้ “ทำผลงาน” ในกระดาษ และมีการติววิธีทำผลงาน เปลี่ยนมาเป็นเลื่อนตำแหน่งเมื่อผลสัมฤทธิ์ของลูกศิษย์ได้ผลดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการทดสอบระดับชาติ 3 ปีติดต่อกัน จนได้ผลในระดับผ่านเกินร้อยละ90 ของจำนวนเด็กนักเรียนทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ต้องมีการทดสอบระดับชาติในทุกชั้น
2. มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียนหรือทั้งเขตการศึกษา แล้วคณะครูและทุกฝ่ายช่วยกันดำเนินการ เน้นที่การมี PLC ระดับโรงเรียน ระดับเขตการศึกษา และระดับประเทศ เมื่อนักเรียนทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษาสอบ National Education Test (NET)ผ่านเกินร้อยละ 90 ก็ได้รับรางวัลทั่วทั้งโรงเรียน หรือทั่วทั้งเขตการศึกษา(เช่นได้เงินรางวัลเท่ากับ 2 เท่าของเงินเดือน) และหากรักษาระดับนี้ได้ก็ได้รับรางวัลทุกปี
3. ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครู นี่เป็นความชั่ว ที่บ่อนทำลายระบบการศึกษาไทย ต้องมีมาตรการตรวจจับและลงโทษรุนแรง ไล่ออกและฟ้องเรียกค่าเสียหาย เพราะเป็นพฤติกรรมที่ก่อความเสียหายต่อบ้านเมืองรุนแรงมาก อาจต้องออกกฎหมายให้ลงโทษรุนแรงขึ้น
4. แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา ครึ่งหนึ่งไปไว้สนับสนุนการเรียนรู้ของครูประจำการในลักษณะการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ครู ที่เรียกว่า PLC(Professional Learning Community) ซึ่งเน้นที่การเรียนรู้ (learning) ของครู ไม่ใช่เน้นที่ การฝึกอบรม (training) และเน้นการเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อให้ครูจับกลุ่มช่วยเหลือกัน โรงเรียนดี ๆ จำนวนหนึ่งในประเทศไทยทำกิจกรรมนี้อยู่แล้ว เช่น โรงเรียนรุ่งอรุณ เพลินพัฒนา ลำปลายมาศพัฒนาเป็นต้น
5. จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปี ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เชิญครูที่มีผลงาน โรงเรียนที่มีผลงาน และเขตการศึกษาที่มีผลงาน มาเล่าแรงบันดาลใจ วิธีการ และวิธีเอาชนะอุปสรรค รวมถึงให้รางวัลหรือการยกย่อง งานนี้ควรจัดในทุกจังหวัด หรืออย่างน้อยทุกภาคหรือกลุ่มจังหวัด
6. ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET) ให้ทดสอบการคิดที่ซับซ้อน (complex thinking) และทักษะที่ซับซ้อน (complexskills) ตามแนวทางทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
7. ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL) โดยส่งเสริมให้มี PLC ของครูที่เน้นจัดการเรียนรู้แบบ PBL ให้รางวัลและยกย่องครูที่จัด PBL ได้เก่ง เพราะ PBL เป็นเครื่องมือให้นักเรียนเรียนรู้ในมิติที่ลึกและซับซ้อน ตามแนวทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น